ที่นอน การนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ผู้สูงวัยมักจะประสบกัน ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นได้จากหลายๆ อย่าง แต่หลักๆ เลยนั้นคือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย ที่เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนและสารต่างๆ ในร่างกายผลิตน้อยลง จนส่งผลให้ไม่สามารถมานอนหลับได้ง่ายๆ หรือบางครั้งอาจจะหลับได้ แต่ร่างกายกับส่งสัญญาณให้คิดไปเองว่านอนไม่หลับ
ในบางคนอาจหลับได้ดี แต่เป็นการหลับแบบตื้นๆ การหลับลึกหลับสนิทนั้นทำไม่ได้ จะหลับได้ในเวลาสั้นๆ และตื่นได้ง่ายมาก ความต้องการนอนหลับลึกและหลับยาวๆ อาจลดลง หากเป็นเช่นนี้ควรสังเกตุว่ามีอาการง่วงนอนในตอนกลางวันบ้างหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ถือว่านอนหลับได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายแล้ว อีกอาการหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยกับผู้สูงอายุก็คือมักจะง่วงเร็ว เข้านอนเร็วกว่าปกติ แต่ก็จะตื่นเร็ว หรืออาจตื่นขึ้นมากลางดึก และนอนไม่หลับอีกเลย
ต่างๆ ตามที่กล่าวถึงข้างต้นถือว่าไม่ผิดปกติ แต่หากเกิดอาการนอนไม่หลับจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเครียด วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้าเข้ามาเสริม ก็อาจส่งผลให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน รวมถึงอาจมีความเจ็บป่วยของร่างกายทำให้ต้องตื่นขึ้นมาในตอนดึกแล้วหลับต่อได้ยาก เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคที่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะหลายครั้งระหว่างนอน จึงทำให้นอนหลับต่ออีกไม่ได้ หรือบางคนมีอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นตะคริว ทำให้ต้องตื่นมาตอนดึก เป็นต้น
อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือ การที่นอนพักผ่อนมากเกินไปในตอนกลางวัน หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนระหว่างวันมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามการพักผ่อนด้วยการนอนหลับยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายของคนทุกวัย หากผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าตัวเองนอนไม่หลับ หรือหลับได้ยาก หลับน้อยเกินไปต่อคืน ให้ลองปฏิบัติดังนี้
– อย่าเข้านอนเร็วเกินไป กำหนดเวลาเข้านอน และตื่นนอนที่แน่นอน
– ออกกำลังกายที่เหมาะสมในระหว่างวัน หลีกเลี่ยงออกกำลังกายหักโหมในช่วงเย็น
– จัดสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่มีแสงจ้าในช่วง ที่นอน
– อย่าเข้านอนในขณะที่ท้องหิว ให้หานมอุ่นๆ ดื่ม หรือรับประทานของว่างสักเล็กน้อย
– อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไปก่อนนอน หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในช่วงอาหารมื้อเย็น
– อย่าดื่มน้ำมากก่อนนอน เพราะจะทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยขึ้น
– ไม่ควรทำกิจกรรมใดๆ บนเตียงนอน เช่นอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ ควรใช้เตียงสำหรับการนอนหลับเท่านั้น อาจเปิดเพลงเบาๆ หรือนวดเพื่อผ่อนคลายก่อนนอน
– หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน
– ออกรับแสงแดดในช่วงเช้า และเย็น
– หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืดๆ ระหว่างวัน เพราะจะทำให้อยากนอนกลางวันมากขึ้น และส่งผลต่อการนอนตอนกลางคืน
– เข้านอนเมื่อมีอาการง่วงเท่านั้น หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง
หากปฏิบัติตามนี้แล้วยังไม่สามารถหลับได้อีก อาจต้องอาศัยยาช่วย ซึ่งควรทำตามคำแนะนำของแพทย์